สรุปวิจัย
วิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ
ลิงค์วิจัย
https://www.slideshare.net/mobile/maykochan/ss-60223008
สรุปเนื้อหาการวิจัย
ความมุ่งหมาย
เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม
ขอบเขตของการวิจัย
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ชาย-หญิง อายุ4-5ปี จำนวน15คน
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
1.แผนการจัดกิจกรรม 24 กิจกรรม
2.แบบทดสอบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ
วิธีการดำเนินการวิจัย
1. ทดสอบเด็กก่อนการทดลอง ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะที่สร้างขึ้น
2.ให้กลุ่มทดลองทำกิจกรรมใช้เวลาทดลอง 8สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ3วัน วันละ 24 นาที รวม 24 ครั้ง
3.เมื่อทำการทดลองครบ8 สัปดาห์ ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนการทดลอง
4.นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์
อภิปรายผล
การที่เด็กมีทักษะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม การจัดกิจกรรมอาจจะเป็นเพราะรูปแบบการจัดกิจกรรม
ส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ ได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ สังเกตุ จำแนก บอกรายละเอียด การนับจำนวนเปรียบเทียบ เช่น การประดิษฐ์ การปั้น การฉีก จากวัสดุธรรมชาติ เเช่นใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดถั่ว ขณะที่เด็กทำกิจกรรมครูมีบทบาทสอดแทรกสาระความรู้ทางคณิตศาสตร์
อภิปรายผลสรุป
เด็กมีทักษะด้านการจัดลำดับ มีคะแนนมากที่สุด รองลงมาเป็นทักษะด้านการนับ และสุดท้ายเป็นทักษะด้านการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.ด้านการจัดลำดับ
ที่มีคะแนนสูงสุดแสดงว่า ระหว่างที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมเด็กมีการจัดลำดับสื่อวัสดุธรรมชาติ ความยาว ความสูง ขนาด จำนวน เช่น กิจกรรม "ก้อนหินสร้างภาพ"
มีจุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดลำดับ
ในขั้นนำ ครูให้เด็กสังเกตวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม โดยแจกก้อนหินที่มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เด็กจะจัดลำดับของก้อนหินจากก้อนใหญ่ไปเล็กหรือจากเล็กไปใหญ่ สลับกับเพื่อนในกลุ่ม ขณะทำกิจกรรมเด็กเลือกขนาดตามความสนใจ และวาดรูปตามจินตนาการลงในก้อนหิน ครูก็จะชี้แนะให้เด็กสังเกตว่าถ้าก้อนหินที่ตัวเองวาดมีขใจนาดเล็กภาพวาดก็จะมีขนาดเล็กไปด้วย ถ้าก้อนหินมีขนาดใหญ่ภาพวาดก็จะมีขนาดใหญ่
ขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
2.ด้านการนับ
เช่น การทำกิจกรรม "งูใบไม้"
ครูสอดแทรกทักษะด้านการนับและแสดงค่าของจำนวน
โดยขั้นนำ เด็กได้ท่องคำคล้องจอง เกี่ยวกับจำนวนครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์และให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ โดยการให้ตัวแทนออกมานับใบไม้ 1-10 ในตะกร้า และนับพร้อมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กลงมือปฏิบัติหยิบใบไม้ในตะกร้ามาต่อเป็นงูใบไม้ เด็กจะนับจำนวนใบไม้ว่าใช้ใบไม้จำนวนกี่ใบ
ในระหว่างทำกิจกรรมเด็กจะสนทนากับเพื่อนและครู เช่น น้องแป้งพูดว่า เราถึงตัวที่ 5 แล้วน้องออยก็ตอบว่า เราก็ใกล้เสร็จแล้วเหลือใบเดียว
ในขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
3.ด้านการเปรียบเทียบ
เช่นกิจกรรม "ดินเหนียวใครเอ่ย"
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายด้านการเปรียบเทียบ
โดยขั้นนำ
ครูสอดแทรกการเปรียบเทียบขนาดดินเหนียว 2 ก้อนและสลับดิน จากสายตาที่มองเห็น และใช้คำถามดังนี้ "ดินเหนียวก็ไหนใหญ่กว่า"
"กินเหนียวก็ไหนเล็กกว่า"
และหาคำตอบด้วยการนำดินเหนียวมาชั่งน้ำหนักจากตราชั่ง
ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กปั้นดินเหนียว เด็กได้สัมผัสและเกิดการเปรียบเทียบในเรื่องของน้ำหนัก ขนาด ความยาว จากการลงมือปฏิบัติจริง
ขั้นสรุป
นักเรียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเองและเปรียบเทียบน้ำหนัก/เบากับผลงานของเพื่อน
จากที่มากล่าวแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านการนับ การเปรียบเทียบ และจัดลำดับได้ด้วยตนเอง ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านสื่อ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ โดยครูมีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
เด็กมีทักษะด้านการจัดลำดับ มีคะแนนมากที่สุด รองลงมาเป็นทักษะด้านการนับ และสุดท้ายเป็นทักษะด้านการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.ด้านการจัดลำดับ
ที่มีคะแนนสูงสุดแสดงว่า ระหว่างที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมเด็กมีการจัดลำดับสื่อวัสดุธรรมชาติ ความยาว ความสูง ขนาด จำนวน เช่น กิจกรรม "ก้อนหินสร้างภาพ"
มีจุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดลำดับ
ในขั้นนำ ครูให้เด็กสังเกตวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม โดยแจกก้อนหินที่มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เด็กจะจัดลำดับของก้อนหินจากก้อนใหญ่ไปเล็กหรือจากเล็กไปใหญ่ สลับกับเพื่อนในกลุ่ม ขณะทำกิจกรรมเด็กเลือกขนาดตามความสนใจ และวาดรูปตามจินตนาการลงในก้อนหิน ครูก็จะชี้แนะให้เด็กสังเกตว่าถ้าก้อนหินที่ตัวเองวาดมีขใจนาดเล็กภาพวาดก็จะมีขนาดเล็กไปด้วย ถ้าก้อนหินมีขนาดใหญ่ภาพวาดก็จะมีขนาดใหญ่
ขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
2.ด้านการนับ
เช่น การทำกิจกรรม "งูใบไม้"
ครูสอดแทรกทักษะด้านการนับและแสดงค่าของจำนวน
โดยขั้นนำ เด็กได้ท่องคำคล้องจอง เกี่ยวกับจำนวนครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์และให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ โดยการให้ตัวแทนออกมานับใบไม้ 1-10 ในตะกร้า และนับพร้อมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กลงมือปฏิบัติหยิบใบไม้ในตะกร้ามาต่อเป็นงูใบไม้ เด็กจะนับจำนวนใบไม้ว่าใช้ใบไม้จำนวนกี่ใบ
ในระหว่างทำกิจกรรมเด็กจะสนทนากับเพื่อนและครู เช่น น้องแป้งพูดว่า เราถึงตัวที่ 5 แล้วน้องออยก็ตอบว่า เราก็ใกล้เสร็จแล้วเหลือใบเดียว
ในขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเอง
3.ด้านการเปรียบเทียบ
เช่นกิจกรรม "ดินเหนียวใครเอ่ย"
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายด้านการเปรียบเทียบ
โดยขั้นนำ
ครูสอดแทรกการเปรียบเทียบขนาดดินเหนียว 2 ก้อนและสลับดิน จากสายตาที่มองเห็น และใช้คำถามดังนี้ "ดินเหนียวก็ไหนใหญ่กว่า"
"กินเหนียวก็ไหนเล็กกว่า"
และหาคำตอบด้วยการนำดินเหนียวมาชั่งน้ำหนักจากตราชั่ง
ขั้นดำเนินกิจกรรม เด็กปั้นดินเหนียว เด็กได้สัมผัสและเกิดการเปรียบเทียบในเรื่องของน้ำหนัก ขนาด ความยาว จากการลงมือปฏิบัติจริง
ขั้นสรุป
นักเรียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเองและเปรียบเทียบน้ำหนัก/เบากับผลงานของเพื่อน
จากที่มากล่าวแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านการนับ การเปรียบเทียบ และจัดลำดับได้ด้วยตนเอง ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านสื่อ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ โดยครูมีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น