วันศุกร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2563

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่3

บันทึการเรียนรู้ครั้งที่3
วันพุธที่22มกราคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน08:30-12:30น.
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ

วันนี้อาจารย์ไม่ได้เข้าสอนเนื่องจากอาจารย์ติดธุระอบรมประกันหลักสูตร ดังนั้นอาจารย์จึงมอบหมายงานให้นักศึกษาทำ Mind mapโดยที่อาจารย์ส่งไฟล์ให้ในไลน์และให้นักศึกษาสรุปองค์ความรู้ และสรุปงานวิจัย บทความ และตัวอย่างการสอน



ภาพสรุปองค์ความรู้

คำศัพท์
1.Course  หลักสูตร
2.Mathematics  คณิคศาสตร์
3.Theory   ทฤษฎี
4.Process  กระบวนการ
5.Senes   ประสาทสัมผัส

การประเมิน
ตัวเอง : กระตือรือร้น มีความรับผิดผิดชอบต่องาน

เพื่อน :  มีความรับผิดชอบในงาน และมาเรียนเช้า มีการเตรียมตัวมาเป็นอย่างดี มีการสนทนากันในงานที่ได้รับมอบหมายให้ทำ

อาจารย์ : มีความกระตือรือร้นก่อนนักศึกษา มีการแจ้งงานให้ทำ และเตรียมตัวที่จะสอนเป็นอย่างดี



บันทึการเรียนรู้ครั้งที่2

บันทึการเรียนรู้ครั้งที่2
วันพุธที่15 มกราคม พ.ศ.2563
เวลาเรียน08:30-12:30น.
อาจารย์ผู้สอน ดร.จินตนา สุขสำราญ



เนื้อหาที่เรียน
วันนี้ในคาบเรียนอาจารย์ให้คำแนะนำในเรื่องการทำบล็อกแฟ้มสะสมงานอิเล็กทรอนิกส์ใช้ความคิดสร้างสรรค์ออกแบบ และประหยัดค่าใช้จ่ายสามารถปรับเปลี่ยนงานได้ตลอดเวลาการหาแหล่งข้อมูลจากหนังสือและเว็บที่เชื่อถือได้และนำมาเป็นแหล่งอ้างอิงในแฟ้มสะสมผลงานอิเล็คทรอนิกส์ของนักศึกษาและอาจารย์ได้ให้คำแนะนำ ในเรื่องของงานวิจัย สรุปบทความวิจัยและตัวอย่างการสอน ให้นักศึกษาเก็บรวบรวมดาวน์โหลดไว้เป็นตัวอย่างในการทำวิจัยสื่อที่น่าเชื่อ ถือดูจากอะไรได้บ้าง เช่นองค์กรที่รับรอง





คำศัพท์
1.recommend    แนะนำ
2.information    ข้อมูล
3.Reference       แหล่งอ้างอิง
4.organization   องค์กร
5.ability             ความสามารถ


การประเมิน
ตัวเอง  ได้เทคนิคในการทำแฟ้มสะสมผลงานของตัวเอง และได้รู้การหาข้อมูลและแหล่งอ้างอิง

เพื่อน    วันนี้เพื่อนมีความกระตือรือร้นในการทำงาน

อาจารย์  อาจารย์มีเทคนิคการสอนที่ดี และให้คำแนะนำในการทำแฟ้มสะสมผลงานอิเล็กทรอนิกได้เป็นอย่างดี









สรุปวิจัย

สรุปวิจัย




วิจัย เรื่อง ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ

ลิงค์วิจัย
https://www.slideshare.net/mobile/maykochan/ss-60223008

 สรุปเนื้อหาการวิจัย 

 ความมุ่งหมาย 
เพื่อเปรียบเทียบทักษะทางคณิตศาสตร์ ของเด็กปฐมวัยก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรม 
  ขอบเขตของการวิจัย 
กลุ่มตัวอย่าง นักเรียน ชาย-หญิง อายุ4-5ปี  จำนวน15คน 
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย 
1.แผนการจัดกิจกรรม 24 กิจกรรม 
2.แบบทดสอบวัดทักษะทางคณิตศาสตร์ จำนวน 30 ข้อ 

วิธีการดำเนินการวิจัย 
1.  ทดสอบเด็กก่อนการทดลอง ด้วยแบบทดสอบวัดทักษะที่สร้างขึ้น 
2.ให้กลุ่มทดลองทำกิจกรรมใช้เวลาทดลอง 8สัปดาห์ โดยทดลองสัปดาห์ละ3วัน วันละ 24 นาที รวม 24 ครั้ง 
3.เมื่อทำการทดลองครบ8 สัปดาห์  ผู้วิจัยทำการทดสอบหลังการทดลองโดยใช้แบบทดสอบวัดทักษะชุดเดียวกับแบบทดสอบก่อนการทดลอง 
4.นำคะแนนที่ได้จากการทดสอบไปทำการวิเคราะห์ 
อภิปรายผล 
การที่เด็กมีทักษะเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิม การจัดกิจกรรมอาจจะเป็นเพราะรูปแบบการจัดกิจกรรม 
ส่งเสริมให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติ  ได้สำรวจวัสดุอุปกรณ์ สังเกตุ จำแนก บอกรายละเอียด  การนับจำนวนเปรียบเทียบ เช่น การประดิษฐ์ การปั้น การฉีก  จากวัสดุธรรมชาติ เเช่นใบไม้ ดอกไม้ เมล็ดถั่ว ขณะที่เด็กทำกิจกรรมครูมีบทบาทสอดแทรกสาระความรู้ทางคณิตศาสตร์ 
อภิปรายผลสรุป
เด็กมีทักษะด้านการจัดลำดับ มีคะแนนมากที่สุด  รองลงมาเป็นทักษะด้านการนับ และสุดท้ายเป็นทักษะด้านการเปรียบเทียบ ซึ่งสามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
1.ด้านการจัดลำดับ
ที่มีคะแนนสูงสุดแสดงว่า ระหว่างที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมเด็กมีการจัดลำดับสื่อวัสดุธรรมชาติ ความยาว ความสูง ขนาด จำนวน เช่น กิจกรรม "ก้อนหินสร้างภาพ"
มีจุดมุ่งหมายทางคณิตศาสตร์ด้านการจัดลำดับ
ในขั้นนำ ครูให้เด็กสังเกตวัสดุ อุปกรณ์ที่ใช้ในการทำกิจกรรม โดยแจกก้อนหินที่มีขนาดใหญ่เล็กไม่เท่ากัน เด็กจะจัดลำดับของก้อนหินจากก้อนใหญ่ไปเล็กหรือจากเล็กไปใหญ่ สลับกับเพื่อนในกลุ่ม ขณะทำกิจกรรมเด็กเลือกขนาดตามความสนใจ และวาดรูปตามจินตนาการลงในก้อนหิน ครูก็จะชี้แนะให้เด็กสังเกตว่าถ้าก้อนหินที่ตัวเองวาดมีขใจนาดเล็กภาพวาดก็จะมีขนาดเล็กไปด้วย ถ้าก้อนหินมีขนาดใหญ่ภาพวาดก็จะมีขนาดใหญ่
ขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องเกี่ยวกับผลงานของตนเอง

2.ด้านการนับ
เช่น การทำกิจกรรม "งูใบไม้"
ครูสอดแทรกทักษะด้านการนับและแสดงค่าของจำนวน
โดยขั้นนำ เด็กได้ท่องคำคล้องจอง เกี่ยวกับจำนวนครูแนะนำวัสดุอุปกรณ์และให้เด็กสังเกตอุปกรณ์ โดยการให้ตัวแทนออกมานับใบไม้ 1-10 ในตะกร้า และนับพร้อมกัน
ขั้นดำเนินกิจกรรม  เด็กลงมือปฏิบัติหยิบใบไม้ในตะกร้ามาต่อเป็นงูใบไม้ เด็กจะนับจำนวนใบไม้ว่าใช้ใบไม้จำนวนกี่ใบ
ในระหว่างทำกิจกรรมเด็กจะสนทนากับเพื่อนและครู เช่น น้องแป้งพูดว่า เราถึงตัวที่ 5 แล้วน้องออยก็ตอบว่า เราก็ใกล้เสร็จแล้วเหลือใบเดียว
ในขั้นสรุป ให้เด็กแสดงผลงานและเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเอง

3.ด้านการเปรียบเทียบ
เช่นกิจกรรม "ดินเหนียวใครเอ่ย"
ซึ่งมีจุดมุ่งหมายด้านการเปรียบเทียบ
โดยขั้นนำ
ครูสอดแทรกการเปรียบเทียบขนาดดินเหนียว 2 ก้อนและสลับดิน จากสายตาที่มองเห็น และใช้คำถามดังนี้ "ดินเหนียวก็ไหนใหญ่กว่า"
"กินเหนียวก็ไหนเล็กกว่า"
และหาคำตอบด้วยการนำดินเหนียวมาชั่งน้ำหนักจากตราชั่ง
ขั้นดำเนินกิจกรรม  เด็กปั้นดินเหนียว เด็กได้สัมผัสและเกิดการเปรียบเทียบในเรื่องของน้ำหนัก ขนาด ความยาว จากการลงมือปฏิบัติจริง
ขั้นสรุป
นักเรียนเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับผลงานของตนเองและเปรียบเทียบน้ำหนัก/เบากับผลงานของเพื่อน

จากที่มากล่าวแสดงให้เห็นว่า การจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์จากวัสดุธรรมชาติ ส่งเสริมให้เด็กปฐมวัยได้พัฒนาทักษะด้านคณิตศาสตร์ ด้านการนับ การเปรียบเทียบ และจัดลำดับได้ด้วยตนเอง ขณะที่เด็กปฏิบัติกิจกรรมผ่านประสาทสัมผัสทั้ง 5 ผ่านสื่อ วัสดุที่เป็นธรรมชาติ โดยครูมีบทบาทในการส่งเสริมกระตุ้นให้เด็กเกิดทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์




  
ผลการค้นหารูปภาพสำหรับ ภาพเคลื่อนไหวขอบคุณ



เพลง


เพลง











สื่อการสอน


สื่อการสอน
1.เกมเรียงลำดับ

https://www.youtube.com/watch?v=6uOuPXTuU8k

2.นิทานบวก-ลบ

https://www.youtube.com/watch?v=Deiz5dNn1bg

3เพลงนับเลข

https://www.youtube.com/watch?v=NYflun0CNzo